ประวัติ

ชื่อ นายอำนาจ แรงประโคน
ชื่อเล่น นาจ
วันเกิด 31 มีนาคม 2513
ที่อยู่ 111 ม.12 ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต เอก เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
อาชีพ รับราชการครู โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
อายุราชการ 17 ปี
สอนวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา



วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนบ้านดุงวิทยา

ประวัติโรงเรียนบ้านดุงวิทยา
                            
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  เริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ..2511โดยมีประวัติการก่อตั้งดังนี้   
 ความเป็นมา              
เนื่องด้วยอำเภอบ้านดุงเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุดรธานี ยังไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาให้นักเรียนที่เรียนจบระดับประถมศึกษาตอนปลาย  ที่ต้องการเรียนต่อจำนวนมาก  ชาวอำเภอบ้านดุงซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชน  จึงได้ร่วมใจกันดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ  โดยความร่วมมือของ
นายเชิด  ทิพยราช                       ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านดุง 
นายชาญ  สร่างนิทร                    ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดุง, 
นายวิชัย  ทิพยาลัย                      ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกำแมด  และ
นายดุสิต  บุรีเพีย                        ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง  (สมัยนั้น)
                        ดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อขออนุมัติก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้เปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรก  จำนวน   44  คนและ   เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ   เมื่อวันที่   19พฤษภาคม  2512  โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูโรงเรียนบ้านดุง (..ชุมชนบ้านดุงปัจจุบัน )เป็นครูผู้สอน โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารอเนกประสงค์เป็นห้องเรียนชั่วคราวและได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ-อุปกรณ์-โต๊ะ-เก้าอี้  จากประชาชนที่เห็นความสำคัญของการศึกษากุลบุตร-กุลธิดา  โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเรื่อยมา  จนกระทั่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นในสถานที่ปัจจุบันและได้ย้ายมาเมื่อวันที่  17 พฤษภาคม  2513  และนักเรียนรุ่นแรกจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(..3)  เมื่อปีการศึกษา  2514  (มีนาคม  2515)
            ปัจจุบันนี้ ปี  2549 โรงเรียนบ้านดุงวิทยาได้พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของอำเภอบ้านดุง  มีความพร้อมทั้งด้านครู-อาจารย์  ด้านอาคารสถานที่  และประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นที่เชื่อถือจากประชาชนชาวอำเภอบ้านดุงและอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลงานที่สามารถสร้างสรรค์การศึกษาไว้อย่างเป็นรูปธรรม  ดังนี้ 
1. สามารถจัดตั้งโรงเรียนสาขาจนสามารถตั้งตัวเป็นเอกเทศได้ถึง  4  โรง  คือ 
1.1 โรงเรียนนาไหมพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก  ปี  2531
1.2 โรงเรียนโนนสะอาดชุมแสงวิทยา  ปี  2533
1.3 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา  และ โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา  ปี  2537
             2. มีผลงานที่มีคุณค่าสูงสุดที่ทุกสถานศึกษาภูมิใจที่ได้รับ  คือ รางวัลโรงเรียน
พระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลางเมื่อปี  ..  2532   
3. ปี 2543 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประกันคุณภาพการศึกษาได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดครั้งแรก ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ60
4. ปี 2544 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 80
5. ปี 2545 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 100
6. ปี 2546 เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ของรัฐบาล
                7. ปีการศึกษา 2546 ( 5-7 มกราคม 2547 ) ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
            8. ปีการศึกษา 2549  ผ่านการประเมินตามโครงการ 1 อำเภอ  1  โรงเรียนในฝันและได้รับรองให้เป็น โรงเรียนต้นแบบของโครงการ 1 อำเภอ  1 โรงเรียนในฝัน
            9.  ปีการศึกษา 2549  ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. รอบ 2 ในระดับดีมากทุกมาตรฐาน

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านดุงวิทยา

           1. นายชาญ  สร่างนิทร       ..   2518 - 2521  ( เกษียณอายุ )
         2. นายวิลาศ  สีตรารมย์     ..   2521 - 2526  ( ย้าย )
         3. นายมณเฑียร  ศรีภูธร    ..   2526 - 2535  ( ย้าย )
         4. นายวุฒิชัย   บุญบุตตะ   ..   2535 - 2543  ( ย้าย )
         5. นายอัธยาศัย โฮมวงศ์     ..   2543 -  2551 ( ย้าย )
         6. นายประมวล  โสภาพร   พ.ศ.     2551 - ปัจจุบัน


นายประมวล  โสภาพร
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดุงวิทยา

ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน


                                                เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย
พญานาค                    ซึ่งเป็นภาพหนึ่งของเจ้าปู่ศรีสุทโธ
สะโนด หรือ ชะโนด คือต้นสะโนด(ชะโนด) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะพิเศษมีขึ้นอยู่ที่เดียวคือที่คำสะโนด(ชะโนด)อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าปู่ศรีสุทโธ 
ลำน้ำทวน        น้ำที่ล้อมรอบก็คือลำน้ำทวนอันเป็นสายน้ำที่ไหลผ่านอำเภอบ้านดุงลงสู่คำสะโนด ยังผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้านดุงทั้งปวง 
นก 1 คู่             แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนดังคู่นก  1  คู่ที่บินเคียงคู่กัน
กลีบบัว 16 กลีบ       ที่ล้อมรอบเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีทั้งปวง

ปรัชญาโรงเรียน
ทนโต เสฎโฐ มนุสเสสุ        หมายความว่า บุคคลที่ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์

คติพจน์ของโรงเรียน
ประพฤติดี   มีวินัย  ตั้งใจเรียน
ชีวทัศน์ของโรงเรียน
                            ลูกเจ้าพ่อศรีสุทโธ   คนโก้ชมพู-ม่วง       โชติช่วงคำสะโนด    
                              คนโปรดชาวนาเกลือ         เคยพายเรือในลำน้ำทวน
          ความเป็นมาชีวทัศน์ของโรงเรียน       เป็นคำอธิบายให้เห็นภาพของความเป็นท้องถิ่น กล่าวคือ ชาวอำเภอบ้านดุงทุกคนให้ความนับถือ"เจ้าพ่อศรีสุทโธ" ที่ซึ่งตามตำนานเก่าแก่เล่าไวัว่าเป็นเทพที่สถิตอยู่ดินแดนมหัศจรรย์อันศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า คำสะโนด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยกลุ่มต้นไม้ไม่เคยพบเห็นในที่ใดของประเทศไทย ที่เรียกกันว่า ต้นสะโนด(ภาษาท้องถิ่น)หรือต้นชะโนด  ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี  นาเกลือ  เดิมเขตอำเภอบ้านดุงได้รับการสำรวจแร่โปแตสโดยกรมทรัพยากรธรณี หลังจากนั้นชาวบ้านพบว่าร่องรอยที่ทางการขุดเจาะสำรวจแร่นั้นมีนำเกลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำมาทดลองต้มเป็นเกลือสินเธาว์และพัฒนามาเป็นการอุตสาหกรรมเกลือต้มและนาเกลือในที่สุด ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสร้างงานหลักและสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญมีเงินหมุนเวียนอย่างมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างกว้างขวาง


สีประจำโรงเรียน
สี ชมพู   -    สีม่วง
   
สภาพพื้นที่และชุมชน
            พื้นที่อำเภอบ้านดุงอยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 85 กิโลเมตร เป็นแหล่งชุมชนที่มีความพร้อมและอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยเขตแดนด้านทิศตะวันออกมีแม่น้ำสงครามเป็นแหล่งเกษตรกรรม-กสิกรรมและเป็นแหล่งอาหารตลอดแนว  เขตแดนด้านทิศตะวันตก มีแม่น้ำห้วยหลวง เป็นแหล่งเกษตรกรรม-กสิกรรมและเป็นแหล่งอาหารตลอดแนว และส่วนตอนกลางของพื้นที่มีลำน้ำทวนหล่อเลี้ยงตั้งแต่ทิศใต้เรื่อยไปจนสุดแนวเขตแดนด้านทิศเหนือ ทำให้อำเภอบ้านดุงมีความพร้อมด้านทรัพยากร  เป็นจุดรวมของกลุ่มพลเมืองที่อพยพมาจากเกือบทุกๆจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนมีแนวคิดในการประกอบอาชีพที่หลากหลายช่วยให้มีการพัฒนาทั้งด้านความเป็นอยู่พื้นฐานและด้านการค้า
วิสัยทัศน์ (Vision)
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  เป็นสถานศึกษาที่มุ่งมั่นจัดการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ  อนุรักษ์ความเป็นไทย  พัฒนาสู่ความเป็นสากล 
มีคุณธรรม  นำความรู้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (Mission)
 โรงเรียนบ้านดุงวิทยา มีภาระกิจหลัก ดังนี้
  1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน  ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. ระดมสรรพกำลังจากชุมชน  องค์กรภายนอก  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
  3. ส่งเสริมการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการพัฒนาครูและผู้เรียนทุกด้าน  โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน  ให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
  6. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา  มาใช้ในการจัดการศึกษา
  7. ส่งเสริมให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
                เป้าประสงค์ของโรงเรียน
(Organization Objectives / Corporate Objectives/Goal)
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา มีความคาดหวังที่สำคัญ คือ   
            ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ  มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความรู้ความสามารถและทักษะในการศึกษาต่อระดับสูง  การประกอบอาชีพ  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
********************

1 ความคิดเห็น:

  1. นายเชิด ทิพยราช คือ คุณตา ผมครับ
    ท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 2540

    ตอบลบ