ประวัติ

ชื่อ นายอำนาจ แรงประโคน
ชื่อเล่น นาจ
วันเกิด 31 มีนาคม 2513
ที่อยู่ 111 ม.12 ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต เอก เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
อาชีพ รับราชการครู โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
อายุราชการ 17 ปี
สอนวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา



วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

 การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน เป็นต้น เนื่องจากผู้มีสุขภาพแข็งแรงจะมีความสามารถทางร่างกาย จิตใจ และเวลามากกว่าคนที่ไม่แข็งแรง  จึงอาจจะกล่าวได้ว่า การมีสุขภาพดีนั้นเป็นเรื่องที่คนทุกคนปรารถนา ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ อโรคา ปรมา ลาภา”  ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ  ซึ่งการที่เราจะมีสุขภาพที่ได้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการขอพรจากสิ่งศักดิ์ แต่เราทุกคนสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง คือการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง เช่น การพักผ่อนที่เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายนั้นเป็นทั้งยาป้องกันโรค ยารักษาโรค และยาบำรุงอย่างดีที่ไม่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากไปหาซื้อ ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัย
                การออกกำลังกาย หมายถึง การประกอบกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ร่างกายหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว และมีผลให้ระบบต่างๆ ของร่างกายเกิดความสมบูรณ์ แข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (มนัส  ยอดคำ, 2548, หน้า 49) ในการออกกำลังกายต้องออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และการฝึกกีฬาจึงจะเกิดประโยชน์ ซึ่งประโยชน์ของการออกกำลังกายสามารถแบ่งได้ดังนี้
                1. ด้านร่างกาย
                2. ด้านจิตใจ
                3. ด้านสติปัญญา
                4. ด้านสังคม

 
ภาพที่ 1 ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

                1. ด้านร่างกาย การออกกำลังกายจะทำให้อวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดังนี้
                                1.1 ระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะมีการเจริญเติบโตขึ้น ทำให้ขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อขยายใหญ่ขึ้น (Hypertrophy) และเป็นการเพิ่มความสามารถในการออกแรงด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อจะทำงานได้นานขึ้น เนื่องจากมีการใช้ออกซิเจนน้อยกว่า
                                1.2 ระบบโครงร่าง ในขณะออกกำลังกายกระดูกจะถูกดึง ถูกบีบจากแรงกล้ามเนื้อ ซึ่งจะกระตุ้นให้กระดูกมีการเจริญขึ้น ทั้งความกว้าง ความใหญ่ ความหนา และข้อต่อก็จะมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับการทำงาน
                                1.3 ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1  ประโยชน์ของการออกกำลังกายที่มีต่อระบบไหวเวียนโลหิตและระบบหายใจ

ระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบหายใจ
1. กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดเพิ่มขึ้น 1. ความสามารถในการจับออกซิเจนของร่างกาย(Maximum Oxygen uptake) มีค่าเพิ่มขึ้น
2. อัตราการเต้นของชีพจรในขณะพักลดลง รวมทั้งอัตราการเต้นของชีพจรขณะออกกำลังกายต่ำกว่าระดับสูงสุดช้าลง 2. การหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกบิน 3. ความจุชีพ(Vital capacity) เพิ่มขึ้น
4. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด 4. ทรวงอกขยายใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจแข็งแรงขึ้น ความยืดหยุ่นของปอดเพิ่มขึ้น
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจขณะพัก คือ อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลง5. ลดอันตรายของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต

                2. ด้านจิตใจ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะผลทำให้เป็นคนที่มีบุคลิกที่มั่นคงสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถปรับตัวเมื่อได้รับความเครียดได้ดี มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ในระดับดี
                3. ด้านสติปัญญา นอกจากการออกกำลังกายมีผลต่อด้านจิตใจแล้ว ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะมีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์
มีความสามารถในการเรียนรู้ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ต่างๆได้ดี
                4. ด้านสังคม การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความมีวุฒิภาวะทางสังคม มีความฉลาดทางสังคม เนื่องการออกำลังกายเป็นกิจกกรมที่ส่งเสริมให้คนมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาทักษะทางสังคมที่ดี
องค์ประกอบพื้นฐานในการออกกำลังกาย
                1.การอบอุ่นร่างกาย (Warm-up)  ช่วงเวลาของการอบอุ่นร่างกายควรทำการออกกำลังกาย การอบอุ่นร่างกายจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว การอบอุ่นร่างกายช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการปวดของกล้ามเนื้อ ในการอบอุ่นร่างกายมีข้อปฏิบัติดังนี้
                - ทำการอบอุ่นรางกายเป็นเวลา10 -15 นาที
                - ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและข้อต่อสามารถทำงานได้เต็มช่วงของการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ ละกิจกรรมอื่นๆที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกาย
                - ทำการอบอุ่นทั้งร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย
                - การอบอุ่นต้องเริ่มการอย่างช้าให้ระบบไหลเวียนและระบบหายใจค่อยๆเพิ่มขึ้น
                2. ช่วงของการออกกำลังกายหรือการปฏิบัติกิจกรรม (Workout/Activity) หลังจากที่ทำการอบอุ่นร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกายควรเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมโดยที่ร่างกายต้องเคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระและปลอดภัย ข้อปฏิบัติในช่วงนี้มีดังนี้
                - ปฏิบัติเป็นเวลา 30 นาทีถึง 60 นาที
                - ปฏิบัติกิจกรรมตามความต้องการที่จะพัฒนาส่วนประกอบต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ  ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ และความอ่อนตัว
                - ปฏิบัติตามความต้องการของแต่ละบุคคล
                - เลือกงานและช่วงเวลาพักขณะการออกกำลังกาย
                - สำหรับผู้เริ่มออกกำลังกาย ให้เพิ่มระยะเวลาในการออกำลังกายแบบมีช่วงพัก และรักษาความหนักของงานให้คงที่
                3. การคลายอุ่น (Cool-Down) หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักการคลายอุ่นเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ในช่วงของการคลายอุ่นมีประสิทธิภาพในการป้องการการบาดเจ็บที่ดีกว่าในช่วงการอบอุ่นร่างกาย ข้อปฏิบัติในช่วงนี้ มีดังนี้
                - ปฏิบัติเป็นเวลา 5 – 10 นาทีหลังจากการออกกำลังกาย
                - ทำให้มีการพักผ่อนตามรูปแบบการออกกำลังกาย
                - กิจกรรมที่ทำประกอบด้วย การเดินช้า การวิ่งเหยาะๆ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
                - ตรวจสอบการเต้นของชีพจรขณะร่างกายฟื้นตัว
เอกสารอ้างอิง
                มนัส  ยอดคำ. (2548). สุขภาพกับการออกกำลังกาย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

รากฐานการพัฒนาหลักสูตรพลศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน สู่การเป็นมหาอำนาจทางการกีฬาของเอเชียและของโลก

 "การแข่งขันกีฬารายการใหญ่ที่มีตัวแทนนักกีฬาจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมชิงชัยไม่ว่าจะเป็นเอเชี่ยนเกมส์หรือโอลิมปิก เราจะเห็นนักกีฬาจากประเทศจีนสามารถคว้าเหรียญทองมาครอบครองอย่างเป็นกอบเป็นกำรั้งตำแหน่งเจ้าเหรียญทองของเอเชียและลำดับต้นๆ ของโลก ว่ากันว่าปัจจัยที่ทำให้นักกีฬาของจีนมีความสามารถโดดเด่นเหนือนักกีฬาชาติอื่นๆนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางรากฐานด้านกีฬาให้กับเยาวชนจีนมาตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านวิชาพลศึกษา (Physical Education) ที่กำหนดให้เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ระดับชั้นประถมจนถึงระดับอุดมศึกษา"
'พลศึกษา' วาระแห่งชาติ
         ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการกีฬามาตั้งแต่สมัยที่ประธานเหมา เจ๋อ ตง เริ่มก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน"ใหม่ๆ ในปี พ.ศ.2494 จีนกำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับชั้นให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิชาอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่ของจีนเติบโตมามีร่างกายแข็งแรง อันจะนำไปสู่การประสบผลสำเร็จในการเรียนและการทำสิ่งต่างๆ
         ต่อมาในปี พ.ศ.2533 สภาแห่งชาติของจีนได้ออกประกาศ "กฎเกณฑ์การจัดการพลศึกษาในสถานศึกษา" (The Operational Rules on Physical Education in Educational Institutions) ที่บังคับใช้กับโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยทุกแห่งของจีน โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในสถานศึกษาไว้ดังนี้
         *    ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เรียน
         *   ปรับปรุงสมรรถภาพทางร่างกายของผู้เรียน
         *   ให้ความรู้พื้นฐานทางพลศึกษาและพัฒนานิสัยที่ดีในการออกกำลังกาย
         *   ยกระดับความสามารถทางการกีฬา และเสริมสร้างพรสวรรค์ด้านกีฬาของผู้เรียน
         *   พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ช่วยให้เกิดวินัย ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
                จากนโยบายข้างต้นส่งผลให้นักเรียน นักศึกษาจีนทุกคนต้องเรียนวิชาพลศึกษาเป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมจนถึงอุดมศึกษา โดยเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง ยกเว้นในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปให้เป็นวิชาเลือก และต้องเข้าเรียนวิชาพลศึกษาไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของเวลาที่บังคับให้เรียน มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการรับรองคุณสมบัติระดับชาติด้านพลศึกษา (The National Standards for Qualification of Students in Physical Education) ซึ่งถ้าไม่มีวุฒิบัตรรับรองคุณสมบัติดังกล่าว นักเรียน นักศึกษาผู้นั้นจะไม่สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป แม้ว่าจะผ่านวิชาอื่นๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรก็ตาม และเมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลจีนยังกำหนดให้การทดสอบวิชาพลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วย เพื่อให้นักเรียนใส่ใจเรียนพลศึกษาอย่างจริงจัง 
         ไม่เพียงเท่านั้น ทางการจีนยังเรียกร้องให้สถานศึกษาดูแลให้นักเรียนได้ออกกำลังกายที่โรงเรียนอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง (รวมชั่วโมงพลศึกษา) ส่งผลให้สถานศึกษาของจีนจำนวนไม่น้อยกำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรมกายบริหารในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนและระหว่างชั่วโมงเรียน ขณะที่โรงเรียนหลายแห่งจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาทุกวัน เพื่อให้บรรลุผลตามภารกิจหลักของวิชาพลศึกษาที่รัฐกำหนดไว้
การเรียนการสอนพลศึกษาในสถานศึกษาของจีนมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป โดยเน้นที่ภาคปฏิบัติมากเป็นพิเศษ เนื้อหาประกอบด้วยความรู้พื้นฐานด้านพลศึกษาและสุขศึกษา การแข่งขันกีฬาและกรีฑาประเภทต่างๆ ยิมนาสติก ยิมนาสติกประกอบการแสดง และการฝึกสมรรถภาพร่างกาย ผ่านการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของการเรียนการสอนในชั้นเรียนในวิชาพลศึกษา กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร การฝึกซ้อมหลังเลิกเรียน และการแข่งขันกีฬารายการต่างๆ
                   โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยหลักสูตรจากส่วนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ ในแต่ละพื้นที่จะมีประเพณี วัฒนธรรม และกีฬาการละเล่นท้องถิ่นแตกต่างกันไป รวมถึงสภาพภูมิอากาศและลักษณะเฉพาะของพื้นที่แต่ละแห่งที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมพลศึกษาแตกต่างกัน อาทิ กีฬาว่ายน้ำและสเก็ตไม่จัดอยู่ในหลักสูตรจากส่วนกลาง เพราะเป็นกีฬาที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาล โดยในระดับการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.3 กำหนดสัดส่วนของหลักสูตรแกนกลางต่อหลักสูตรท้องถิ่นเป็น 70: 30 และตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปลายขึ้นไปปรับสัดส่วนเป็น 50: 50 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและการละเล่นที่สอดคล้องกับประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ในส่วนของรายละเอียดเนื้อหานั้น การเรียนการสอนพลศึกษาในสถานศึกษาของจีนจะผสมผสานระหว่างพลศึกษาและสุขศึกษาไว้ด้วยกัน โดยในส่วนพลศึกษาจะมุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะด้านกีฬาชนิดต่างๆ พัฒนาบุคลิกภาพ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และปลูกฝังนิสัยรักการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ส่วนด้านสุขศึกษาจะมุ่งให้ความรู้แก่นักเรียนในการดูแลสุขภาพและสร้างสุขนิสัย เพื่อป้องกันความเจ็บป่วยที่พบบ่อยในนักเรียนของจีนในอดีต อาทิ สายตาสั้น ฟันผุ การขาดสารอาหาร และภาวะโลหิตจาง โดยกำหนดให้นักเรียนในระดับชั้น   ป.1-ม.3 ต้องเรียนเนื้อหาด้านสุขศึกษาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงใน 2 สัปดาห์  ด้านการจัดกิจกรรมพลศึกษาจะคำนึงถึงวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในเด็กประถมจะเน้นเรื่องการออกกำลังกาย ทำกายบริหาร และการเล่นกีฬาที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมกีฬาที่เล่นเป็นทีมหรือกลุ่มเล็กๆ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความร่วมมือ การทำงานกลุ่ม ความกระตือรือร้น และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่วนในระดับมัธยมขึ้นไปจะเน้นกิจกรรมกีฬาที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามความถนัดของนักเรียนแต่ละคน
        นอกจากการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาแล้ว สถานศึกษาของจีนยังต้องจัดกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการด้านพลศึกษาในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนได้รับอิสระในการกำหนดกิจกรรมตามความเหมาะสมของท้องถิ่น บนพื้นฐานภารกิจของการพลศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนได้ออกกำลังกายและมีสุขภาพกายใจแข็งแรง นับเป็นกิจกรรมที่มีสีสันและได้รับความสนใจจากนักเรียนไม่น้อย อาทิ กิจกรรมเพาะกาย เต้นรำ ขี่จักรยาน ปีนเขา และกีฬาท้องถิ่น โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โรงเรียนชนบทหลายแห่งของจีนได้จัดกิจกรรมเดินทางไกลขึ้น โดยพานักเรียนออกเดินศึกษาธรรมชาติในท้องถิ่น ผ่านส่วนที่เป็นชุมชนบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา และป่าไม้ ซึ่งไม่เพียงเป็นการออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังได้ศึกษาสภาพภูมิประเทศของท้องถิ่นที่อยู่ไปพร้อมกันด้วยช่องทางปั้นนักกีฬาทีมชาติ
        ภารกิจหนึ่งในการจัดกิจกรรมพลศึกษาในสถานศึกษาของจีน และถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งคือการเสาะหาผู้มีความสามารถด้านกีฬา เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพหรือนักกีฬาทีมชาติ ซึ่งทางการจีนให้ความสำคัญสูงสุดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะเห็นได้จากจำนวนโรงเรียนกีฬาของจีนที่มีมากกว่า 3,000แห่งทั่วประเทศ
         ผู้ที่เป็นครูพลศึกษาในโรงเรียนจะต้องกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละคนแสดงความสามารถด้านกีฬาออกมา อาจจะผ่านกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในชั้นเรียน ระดับชั้น หรือระดับโรงเรียน เพื่อสำรวจหาแววนักกีฬาในตัวนักเรียนแต่ละคน นักเรียนคนใดที่มีความสามารถหรือมีรูปร่างเหมาะสมกับกีฬาชนิดใด เช่น เด็กที่มีรูปร่างเล็ก สะโพกเรียว แขนขายืดหยุ่นได้ดีเหมาะจะเป็นนักกีฬายิมนาสติกหรือกระโดดน้ำ เด็กที่มีความว่องไวเหมาะจะเป็นนักวิ่งหรือปิงปอง เป็นต้น เด็กเหล่านี้จะถูกนำมาฝึกฝนเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน เพื่อพัฒนาไปเป็นนักกีฬาของโรงเรียนและเข้ารับการฝึกฝนพัฒนาสมรรถภาพด้านกีฬาอย่างเต็มรูปแบบในโรงเรียนกีฬาของจีนต่อไป
         นอกเหนือไปจากกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน และในระดับท้องถิ่นแล้ว ทางการจีนยังจัดให้มีการแข่งขันกีฬาของนักเรียนและนักศึกษาในระดับประเทศด้วย โดยการแข่งขันกีฬาโรงเรียนแห่งชาติจะจัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี และกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติจะจัดขึ้นในทุก 4 ปี เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษาทุกระดับให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนด้านพลศึกษาอย่างจริงจัง และการแข่งขันกีฬาระดับต่างๆ เหล่านี้นี่เองที่เป็นช่องทางสรรหานักกีฬาทีมชาติ ที่จะเป็นตัวแทนประเทศจีนไปชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆ ระดับนานาชาติต่อไป
         ผมได้ศึกษาเรื่องนี้แล้วทำให้ได้แง่คิดมุมมองต่างๆ ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการพลศึกษา การรู้เขา-รู้เรา หรือการศึกษาต้นแบบที่ดีและเห็นผลในทางปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องนำมาศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง จึงน่าที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมทางพลศึกษา เชื่อแน่ว่าน่าจะเกิดผลดีนะครับ..
ที่มา : http://onzonde.multiply.com/journal/item/231/231....

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมแนะนำโรงเรียนบ้านดุงวิทยา

โรงเรียนบ้านดุงวิทยา

ประวัติโรงเรียนบ้านดุงวิทยา
                            
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  เริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ..2511โดยมีประวัติการก่อตั้งดังนี้   
 ความเป็นมา              
เนื่องด้วยอำเภอบ้านดุงเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุดรธานี ยังไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาให้นักเรียนที่เรียนจบระดับประถมศึกษาตอนปลาย  ที่ต้องการเรียนต่อจำนวนมาก  ชาวอำเภอบ้านดุงซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชน  จึงได้ร่วมใจกันดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ  โดยความร่วมมือของ
นายเชิด  ทิพยราช                       ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านดุง 
นายชาญ  สร่างนิทร                    ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดุง, 
นายวิชัย  ทิพยาลัย                      ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกำแมด  และ
นายดุสิต  บุรีเพีย                        ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง  (สมัยนั้น)
                        ดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อขออนุมัติก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้เปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรก  จำนวน   44  คนและ   เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ   เมื่อวันที่   19พฤษภาคม  2512  โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูโรงเรียนบ้านดุง (..ชุมชนบ้านดุงปัจจุบัน )เป็นครูผู้สอน โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารอเนกประสงค์เป็นห้องเรียนชั่วคราวและได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ-อุปกรณ์-โต๊ะ-เก้าอี้  จากประชาชนที่เห็นความสำคัญของการศึกษากุลบุตร-กุลธิดา  โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเรื่อยมา  จนกระทั่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นในสถานที่ปัจจุบันและได้ย้ายมาเมื่อวันที่  17 พฤษภาคม  2513  และนักเรียนรุ่นแรกจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(..3)  เมื่อปีการศึกษา  2514  (มีนาคม  2515)
            ปัจจุบันนี้ ปี  2549 โรงเรียนบ้านดุงวิทยาได้พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของอำเภอบ้านดุง  มีความพร้อมทั้งด้านครู-อาจารย์  ด้านอาคารสถานที่  และประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นที่เชื่อถือจากประชาชนชาวอำเภอบ้านดุงและอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลงานที่สามารถสร้างสรรค์การศึกษาไว้อย่างเป็นรูปธรรม  ดังนี้ 
1. สามารถจัดตั้งโรงเรียนสาขาจนสามารถตั้งตัวเป็นเอกเทศได้ถึง  4  โรง  คือ 
1.1 โรงเรียนนาไหมพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก  ปี  2531
1.2 โรงเรียนโนนสะอาดชุมแสงวิทยา  ปี  2533
1.3 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา  และ โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา  ปี  2537
             2. มีผลงานที่มีคุณค่าสูงสุดที่ทุกสถานศึกษาภูมิใจที่ได้รับ  คือ รางวัลโรงเรียน
พระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลางเมื่อปี  ..  2532   
3. ปี 2543 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประกันคุณภาพการศึกษาได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดครั้งแรก ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ60
4. ปี 2544 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 80
5. ปี 2545 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 100
6. ปี 2546 เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ของรัฐบาล
                7. ปีการศึกษา 2546 ( 5-7 มกราคม 2547 ) ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
            8. ปีการศึกษา 2549  ผ่านการประเมินตามโครงการ 1 อำเภอ  1  โรงเรียนในฝันและได้รับรองให้เป็น โรงเรียนต้นแบบของโครงการ 1 อำเภอ  1 โรงเรียนในฝัน
            9.  ปีการศึกษา 2549  ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. รอบ 2 ในระดับดีมากทุกมาตรฐาน

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านดุงวิทยา

           1. นายชาญ  สร่างนิทร       ..   2518 - 2521  ( เกษียณอายุ )
         2. นายวิลาศ  สีตรารมย์     ..   2521 - 2526  ( ย้าย )
         3. นายมณเฑียร  ศรีภูธร    ..   2526 - 2535  ( ย้าย )
         4. นายวุฒิชัย   บุญบุตตะ   ..   2535 - 2543  ( ย้าย )
         5. นายอัธยาศัย โฮมวงศ์     ..   2543 -  2551 ( ย้าย )
         6. นายประมวล  โสภาพร   พ.ศ.     2551 - ปัจจุบัน


นายประมวล  โสภาพร
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดุงวิทยา

ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน


                                                เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย
พญานาค                    ซึ่งเป็นภาพหนึ่งของเจ้าปู่ศรีสุทโธ
สะโนด หรือ ชะโนด คือต้นสะโนด(ชะโนด) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะพิเศษมีขึ้นอยู่ที่เดียวคือที่คำสะโนด(ชะโนด)อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าปู่ศรีสุทโธ 
ลำน้ำทวน        น้ำที่ล้อมรอบก็คือลำน้ำทวนอันเป็นสายน้ำที่ไหลผ่านอำเภอบ้านดุงลงสู่คำสะโนด ยังผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้านดุงทั้งปวง 
นก 1 คู่             แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนดังคู่นก  1  คู่ที่บินเคียงคู่กัน
กลีบบัว 16 กลีบ       ที่ล้อมรอบเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีทั้งปวง

ปรัชญาโรงเรียน
ทนโต เสฎโฐ มนุสเสสุ        หมายความว่า บุคคลที่ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์

คติพจน์ของโรงเรียน
ประพฤติดี   มีวินัย  ตั้งใจเรียน
ชีวทัศน์ของโรงเรียน
                            ลูกเจ้าพ่อศรีสุทโธ   คนโก้ชมพู-ม่วง       โชติช่วงคำสะโนด    
                              คนโปรดชาวนาเกลือ         เคยพายเรือในลำน้ำทวน
          ความเป็นมาชีวทัศน์ของโรงเรียน       เป็นคำอธิบายให้เห็นภาพของความเป็นท้องถิ่น กล่าวคือ ชาวอำเภอบ้านดุงทุกคนให้ความนับถือ"เจ้าพ่อศรีสุทโธ" ที่ซึ่งตามตำนานเก่าแก่เล่าไวัว่าเป็นเทพที่สถิตอยู่ดินแดนมหัศจรรย์อันศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า คำสะโนด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยกลุ่มต้นไม้ไม่เคยพบเห็นในที่ใดของประเทศไทย ที่เรียกกันว่า ต้นสะโนด(ภาษาท้องถิ่น)หรือต้นชะโนด  ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี  นาเกลือ  เดิมเขตอำเภอบ้านดุงได้รับการสำรวจแร่โปแตสโดยกรมทรัพยากรธรณี หลังจากนั้นชาวบ้านพบว่าร่องรอยที่ทางการขุดเจาะสำรวจแร่นั้นมีนำเกลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำมาทดลองต้มเป็นเกลือสินเธาว์และพัฒนามาเป็นการอุตสาหกรรมเกลือต้มและนาเกลือในที่สุด ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสร้างงานหลักและสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญมีเงินหมุนเวียนอย่างมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างกว้างขวาง


สีประจำโรงเรียน
สี ชมพู   -    สีม่วง
   
สภาพพื้นที่และชุมชน
            พื้นที่อำเภอบ้านดุงอยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 85 กิโลเมตร เป็นแหล่งชุมชนที่มีความพร้อมและอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยเขตแดนด้านทิศตะวันออกมีแม่น้ำสงครามเป็นแหล่งเกษตรกรรม-กสิกรรมและเป็นแหล่งอาหารตลอดแนว  เขตแดนด้านทิศตะวันตก มีแม่น้ำห้วยหลวง เป็นแหล่งเกษตรกรรม-กสิกรรมและเป็นแหล่งอาหารตลอดแนว และส่วนตอนกลางของพื้นที่มีลำน้ำทวนหล่อเลี้ยงตั้งแต่ทิศใต้เรื่อยไปจนสุดแนวเขตแดนด้านทิศเหนือ ทำให้อำเภอบ้านดุงมีความพร้อมด้านทรัพยากร  เป็นจุดรวมของกลุ่มพลเมืองที่อพยพมาจากเกือบทุกๆจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนมีแนวคิดในการประกอบอาชีพที่หลากหลายช่วยให้มีการพัฒนาทั้งด้านความเป็นอยู่พื้นฐานและด้านการค้า
วิสัยทัศน์ (Vision)
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  เป็นสถานศึกษาที่มุ่งมั่นจัดการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา  ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ  อนุรักษ์ความเป็นไทย  พัฒนาสู่ความเป็นสากล 
มีคุณธรรม  นำความรู้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (Mission)
 โรงเรียนบ้านดุงวิทยา มีภาระกิจหลัก ดังนี้
  1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน  ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. ระดมสรรพกำลังจากชุมชน  องค์กรภายนอก  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
  3. ส่งเสริมการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการพัฒนาครูและผู้เรียนทุกด้าน  โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน  ให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ
  6. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา  มาใช้ในการจัดการศึกษา
  7. ส่งเสริมให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
                เป้าประสงค์ของโรงเรียน
(Organization Objectives / Corporate Objectives/Goal)
โรงเรียนบ้านดุงวิทยา มีความคาดหวังที่สำคัญ คือ   
            ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ  มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความรู้ความสามารถและทักษะในการศึกษาต่อระดับสูง  การประกอบอาชีพ  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
********************

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กับแกล้มที่ดีของนักดื่ม

           กับแกล้มที่ดีของ นักดื่ม  ความจริงแล้วการดื่มเหล้านั้นเป็นการทำลาย สุขภาพ ให้ย่ำแย่ได้ง่ายที่สุุด  ดังนั้นจึงควรเลิกนิสัย นักดื่ม ให้ได้จะเป็นการดีต่อ สุขภาพ ที่สุด
          แต่ในขณะที่ยังเลิกดื่มไม่ได้หรือคุณที่นานทีปีหนจะดื่มก็ควรจะรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ๆ  การรับประทานอาหารหนัก ๆ  หรือมัน ๆ ทำให้ ระบบย่อยอาหาร ต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า  จะมีแต่โทษต่อ สุขภาพ ร่างกาย ของคุณเอง
          และถ้าไม่รับประทานอาหารใด ๆ เลยระหว่างที่ดื่มก็ยิ่งจะทำให้แย่หนักเข้าไปอีก  อาหารที่เหมาะสมมีหลายอย่าง  เช่น  ตับ  หอยแครง  หอยนางรม  หอยแมลงภู่  ปู  เต้าหู้  กุ้ง  ผัก  เป็นต้น 
แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะเลิกนิสัยเป็น นักดื่ม จะดีต่อ สุขภาพร่างกาย ที่สุด
                                                                                         จาก  ชุมชนคนรักสุขภาพ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ

ชื่อ          นายอำนาจ แรงประโคน
ชื่อเล่น   นาจ
วันเกิด    31 มีนาคม  2513 
ที่อยู่      111  ม.12 ต.ศรีสุทโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
วุฒิการศึกษา   ปริญญาตรี   ครุศาสตรบัณฑิต  เอก เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
อาชีพ    รับราชการครู    โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
อายุราชการ     17   ปี
สอนวิชา  สุขศึกษา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา